boats-2.jpgboats-3.jpg

โครงการ SMEs ประหยัดไฟช่วยไทยลดใช้พลังงาน

เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนสถานประกอบการ SMEs ในการเปลี่ยนหลอดเดิมเป็นหลอดประหยัดพลังงาน เพื่อลดต้นทุนของสถานประกอบการ SMEs ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศอีกทางหนึ่ง โดยมอบหมายให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทำหน้าที่บริหารโครงการร่วมกับบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO)

Download>> เอกสารเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ SMEs ประหยัดไฟช่วยไทยลดใช้พลังงาน
Download>> ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ SMEs ประหยัดไฟช่วยไทยลดใช้พลังงาน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0-2594-5563
การเผาไหม้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความร้อworldhot 5 resizeเป็นพลังงานที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ใช้ในขบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ   โดยทั่วไปพลังงานความร้อนจะได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในที่ที่มี ออกซิเจนเพียงพอและอุณหภูมิเหมาะสม  การนำความร้อนไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ  ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ประสิทธิภาพสูงสุด)   จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนของการเผาไหม้ และ   ส่วนของการนำความร้อนไปใช้งาน  
 การเผาไหม้ถือเป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อการนำความร้อนไปใช้งานมาก   เพราะหากการเผาไหม้เกิดไม่สมบูรณ์ก็เท่ากับว่าเชื้อเพลิงบางส่วนถูกทิ้งไป โดยไม่เกิดการเผาไหม้  ดังนั้น  เป้าหมายของ ประสิทธิภาพสูงสุดในส่วนของการเผาไหม้คือ   การทำให้เชื้อเพลิงที่ใช้ถูกเผาไหม้หมด
การนำความร้อนไปใช้งาน  ในอุตสาหกรรมความร้อนที่ได้จาก  การเผาไหม้เชื้อเพลิงสามารถนำไปใช้ทั้งทางตรงคือ   การให้ความร้อนกับเครื่องจักรโดยตรงหรือทางอ้อมคือ   มีตัวกลางในการพาความร้อนไปสู่เครื่องจักร เช่น ไอน้ำ น้ำร้อน น้ำมันร้อน  อากาศร้อน  เป็นต้น ดังนั้น  เป้าหมายของประสิทธิภาพสูงสุดในส่วนของการนำความร้อนไปใช้งาน คือ   ความสามารถในการใช้ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ได้สูงสุด

เชื้อเพลิงและการเผาไหม้

การเผาไหม้ เป็นปฏิกิริยาเคมีประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างสารต่าง ๆ กับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นสารประกอบของออกซิเจน (ออกไซด์) ซึ่งในการเกิดปฏิกิริยาเคมีนี้ จะให้ความร้อนออกมาโดยทั่วไปเชื้อเพลิงจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ คาร์บอน (C), ไฮโดรเจน (H2), ออกซิเจน (O), ซัลเฟอร์ (S), ไนโตรเจน (N), น้ำ H2O และเถ้า

การเผาไหม้จะเกิดดังต่อไปนี้

 C + O2 -> CO2

2H + 1/2 O2 -> H2O

S + O2 -> SO2

N + XO2 -> NOX

สำหรับไนโตรเจน สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเกิดเป็นสารประกอบไนโตรเจนออกไซด์ แต่เกิดในปริมาณที่น้อยมากคือ ในล้านส่วน ดังนั้น ในแง่การเผาไหม้ ถือว่าไม่เกิดการเผาไหม้

จากสมการการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจะเห็นว่าไอเสียที่เกิดขึ้นจะประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), น้ำ (H2O) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในทางปฏิบัติอาจเกิดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ ทำให้สารคาร์บอนในเชื้อเพลิงเกิดเป็นเขม่า ซึ่งเป็นคาร์บอนที่ไม่เผาไหม้หรือคาร์บอนมอนน็อกไซด์ (CO) ซึ่งเป็นสารประกอบของคาร์บอนที่ยังเผาไหม้ไม่สิ้นสุด ผลผลิตทั้งสองตัวนี้ถือเป็นเชื้อเพลิงส่วนที่เผาไหม้ไม่หมดที่เกิดจากการเผา ไหม้ไม่สมบูรณ์

 

95/287 หมู่ที่6 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 Tel.0-2594-5563 e-mail : info@etcthailand.com